งานฝึกภาคปฎิบัตินั้นค่อนข้างที่จะมีวิธีการให้คะแนนที่ไม่เคร่งครัด ซึ่งเป็นได้ดังต่อไปนี้
1. ไม่มีการให้คะแนน สำหรับงานรูปแบบนี้ อาจารย์จะไม่ให้ความสนใจกับการประเมินเพื่อให้คะแนนจากนักเรียน นักเรียนจะต้องวิจารณ์งานแต่ละชิ้น แต่ไม่ต้องทำการให้คะแนน หากอาจารย์ต้องการ อาจารย์สามารถให้คะแนนคำวิจารณ์ของนักเรียน "คะแนนการให้คะแนน" พวกนี้จะเป็นพื้นฐานคะแนนปลายภาคของพวกเขา แต่ถ้าอาจารย์ไม่ทำการให้คะแนนการประเมินของนักเรียน งานชิ้นนี้จะไม่ได้รับคะแนนปลายภาค
2. การให้คะแนนแบบเก็บสะสม นี่คือวิธีการให้คะแนนแบบปกติ สำหรับงานนี้ คะแนนการประเมินแต่ละสิ่งจะประกอบไปด้วยองค์ประกอบที่ใช้ประเมินผลงานหลายตัว องค์ประกอบทุกตัวควรจะครอบคลุมแต่ละส่วนของงาน โดยทั่วไปแล้วงานชิ้นหนึ่งจะมีระหว่าง 5 ถึง 15 องค์ประกอบสำหรับการแสดงความคิดเห็น การให้คะแนน จำนวนที่แท้จริงจะขึ้นอยู่กับขนาดและความซับซ้อนของงานชิ้นนั้น งานที่ให้นักเรียนกันเองเป็นคนตรวจโดยที่มีองค์ประกอบแค่อย่างเดียวก็ได้รับการอนุมัติ และมียุทธศาสตร์ในการประเมินผลงานคล้าย Moodle ประเภทิขององค์ประกอบนั้นขึ้นอยู่กับยุทธ์ศาสตร์ในการประเมินผลงาน
องค์ประกอบจะมีลักษณะสามอย่าง
1. คำอธิบายลักษณะขององค์ประกอบที่ใช้ประเมินผลงาน คำอธิบายนั้นควรจะบอกอย่างชัดเจนว่าองค์ประกอบใดของงานที่กำลังถูกประเมินอยู่ จะช่วยมากทีเดียวถ้ามีการอธิบายคุณสมบัติเช่นอะไรจึงจะถือว่า เยี่ยม ปานกลาง เลว หากเป็นการประเมินในเชิงคุณภาพ
2. มาตรฐานการให้คะแนนสำหรับแต่ละองค์ประกอบ มีมาตรฐานการให้คะแนนแบบ prefined มากพอสมควร มีตั้งแต่แบบง่าย แบบ multipoint ไปจนถึงการวัดเป็นเปอร์เซ็นต์ มาตรฐานการให้คะแนนที่เหมาะสมสำหรับแต่ละองค์ประกอบควรจะถูกแลือกเพื่อให้เหมาะสมกับจำนวนที่องค์ประกอบตัวนั้นสามารถผันแปรได้
หมายเหตุ มาตรฐานการให้คะแนนนั้นไม่สามารถตัดสินความสำคัญขององค์ประกอบตัวนั้นได้เมื่อต้องคำนวณคะแนนโดยรวม มาตรฐานการให้คะแนนที่มีเพียงสองคะแนนมีอิทธิพลเท่ากับมาตรฐานการให้คะแนน 100 คะแนนหากทั้งสองได้รับน้ำหนักที่เท่ากัน
3. นํ้าหนักของแต่ละองค์ประกอบ ปกติแล้วแต่ละองค์ประกอบจะได้รับความสำคัญเท่ากันเวลาถูกนำมาใช้คำนวณคะแนนรวม แต่สิ่งนี้สามารถเปลี่ยนได้โดยการเพิ่มน้ำหนักให้สูงกว่า 1 แก่องค์ประกอบที่สำคัญกว่า และลดน้ำหนักกับองค์ประกอบที่ไม่สำคัญเท่าให้เหลือน้อยกว่า 1 การเปลี่ยนแปลงน้ำหนักนั้นไม่มีผลกระทบต่อคะแนนสูงสุด คะแนนสูงสุดนั้นเป็นคะแนนตายตัวที่ถูกกำหนดโดย Maximum Grade parameter (กรอบคะแนนสูงสุด) ของการที่ให้นักเรียนตรวจงานให้กันเอง น้ำหนักนั้นสามารถเปลี่ยนเป็นเลขลบได้ซึ่งเป็นลักษณะของการทดลอง
3. การให้คะแนนโดยรวมข้อผิดพลาดเป็นหมู่ สำหรับงานลักษณะแบบนี้ คะแนนของงานที่ถูกส่งจะถูกพิจารณาการให้คะแนนตามมาตรฐานถูกหรือผิด คะแนนจะถูกตัดสินจาก "ตารางคะแนน" ซึ่งจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนข้อผิดพลาด กับคะแนนที่คาดว่าจะได้ ตัวอย่างเช่น งานชิ้นหนึ่งอาจจะต้องมีสิ่งสำคัญหกอย่างที่ควรจะมีอยู่ ตารางคะแนนจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับคะแนนที่ผลงานชิ้นนั้นควรจะได้รับหากมีครบทั้งหกอย่าง ขาดไปหนึ่ง ขาดไปสอง ฯลฯ หากต้องการแต่ละสิ่งนั้นสามารถได้รับน้ำหนักไม่เท่ากัน หากบางสิ่งมีความสำคัญมากกว่า จำนวนของข้อผิดพลาดคือน้ำหนักรวมของสิ่งที่ขาด โดยปกติแล้ว แต่ละอย่างจะได้รับค่าน้ำหนักเท่ากับหนึ่ง มีความเป็นไปได้สูงที่ตารางคะแนนจะไม่เป็นเส้นตรง อาทิคะแนนคาดเดาจะได้อาจเป็น 90%, 70%, 50%, 40%, 30%, 20%, 10%, 0%, 0%, 0% สำหรับงานที่มี 10 อย่าง ผู้ที่ทำหน้าที่ประเมินจะสามารถปรับคะแนนคาดเดาให้มากขึ้นหรือน้อยลงได้มากถึง 20% สำหรับการให้คะแนนปลายภาค
4. การให้คะแนนตามเกณฑ์ วิธีนี้เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดสำหรับการประเมินเพื่อให้คะแนน (แต่อาจจะไม่ใช่วิธีที่ง่ายที่สุดตอนสร้างวิธีนี้ขึ้นมา) งานที่ถูกส่งจะถูกให้คะแนนตามชุดของเกณฑ์ประโยค ประโยคที่เหมาะสมที่สุดสำหรับผลงานชิ้นนั้นจะถูกเลือกโดยผู้ที่ทำหน้าที่ประเมิน คะแนนนั้นจะถูกกำหนดโดย "ตารางเกณฑ์" ซึ่งจะให้คะแนนคาดเดาสำหรับเกณฑ์แต่ละตัว อาทิเช่น งานชิ้นหนึ่งอาจถูกกำหนดให้มีประโยคเกณฑ์ห้าตัว และผู้ประเมินจะต้องเลือกประโยคเกณฑ์มาตัวหนึ่งจากห้าตัวนั้นสำหรับการประเมินแต่ละผลงานของเขา ดังเช่นการประเมินงานในลักษณะเป็นการรวมเป็นหมู่ซึ่งจะให้ผู้ประเมินนั้นสามารถปรับคะแนนคาดเดานั้นได้ถึง 20% ก่อนที่จะเป็นคะแนนปลายภาค